วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สานฝัน.....สู่ประชาคมอาเซียน


สานฝัน...............สู่ประชาคมอาเซียน


****************************************************************************

ประเทศบรูไน  ดารุสซาลาม


ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือขอเกาะเบอร์เนียว
           แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara  เขต Belait  เขต Temburong  และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร 370,00 คน (2548) ประกอบด้วย มาเลยเซีย(66%) จีน (11%) และอื่น ๆ (23)%
ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา ภาษามาเลยเซีย (Malay ) เป็นภาษาราชการ  รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ศาสนา ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%)
               ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู
สกุลเงิน : ดอลลารุซบรูไน (Brunei Dollar)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 22.9 บาท/ 1 ดอลลารุซบรูไน (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลารุซบรูไน  (มกราคม 2552)
(ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)
ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์(His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510
* รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปตย คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
* สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย
* ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลยเซียโดยกำเนิด และจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่

เพลงประจำชาตประเทศบรูไน



*******************************************************************************

ประเทศอินโดนีเซีย



ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร  เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย
กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
- หมู่เกาะซุนดาใหญ่ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา
     ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ
                   ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม  ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์
              ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก  ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู  และร้อยละ 1.3 นับถือ
ศาสนาพุทธ
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR)
                อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์  (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
 * ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono)
(ตุลาคม 2547)


 เพลงประจำชาติของอินโดนีเซีย



********************************************************************************

ประเทศมาเลเซีย


ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร  ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน  โดยมีทะเลจีนใต้กั้น
- ส่วนแรก คือ มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู  มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์  ประกอบด้วย 11 รัฐ  คือ  ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์  เประ กลันตัน ตรังกานู ปะนัง   เกดะหะ และปะลิส
- ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน)  มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล์อมรอบประเทศบรูไน  ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก
- นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต  คือ  กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง)       เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่ 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ประชากร : 26.24 ล้านคน (ปี 2549)  ประกอบด้วย  ชาวมาเลยเซียกว่า 40%  ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน
     อีก 10% เป็นชาวอินเดีย  อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว  อีก 5% เป็นชาวไทย
และอื่นๆอีก 2%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : มาเลยเซีย (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4)  พุทธ (ร้อยละ 19.2)  คริสต์ (ร้อยละ 11.6)  ฮินดู (ร้อยละ 6.3)
      อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 9.25 บาท/ 1 ริงกิต  (ขาย) 10 บาท/1 ริงกิต (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)
   * ประมุข คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต้าน ไมซาน ไซนัล อะบีดิน (พระนามเต็ม: อัล วาติกูรบิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีน อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต้าน มาหะมัด อัล มัคตาฟ์ บิลลาห์ ชาหะ ภาษาอังกฤษ : DYMM Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah)  จากรัฐตรังกานู  ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย  (ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)
* นายกรัฐมนตรี คือ นาจิบ ราซัค
เพลงประจำชาติประเทศมาเลเซีย



****************************************************************************


นางสาวสิริโสภา    นาคศรี  ม.5/7   เลขที่ 42

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น