วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สานฝัน.....สู่ประชาคมอาเซียน


สานฝัน...............สู่ประชาคมอาเซียน


****************************************************************************

ประเทศบรูไน  ดารุสซาลาม


ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือขอเกาะเบอร์เนียว
           แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara  เขต Belait  เขต Temburong  และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร 370,00 คน (2548) ประกอบด้วย มาเลยเซีย(66%) จีน (11%) และอื่น ๆ (23)%
ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา ภาษามาเลยเซีย (Malay ) เป็นภาษาราชการ  รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ศาสนา ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%)
               ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู
สกุลเงิน : ดอลลารุซบรูไน (Brunei Dollar)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 22.9 บาท/ 1 ดอลลารุซบรูไน (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลารุซบรูไน  (มกราคม 2552)
(ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)
ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์(His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510
* รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปตย คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
* สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย
* ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลยเซียโดยกำเนิด และจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่

เพลงประจำชาตประเทศบรูไน



*******************************************************************************

ประเทศอินโดนีเซีย



ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร  เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย
กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
- หมู่เกาะซุนดาใหญ่ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา
     ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ
                   ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม  ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์
              ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก  ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู  และร้อยละ 1.3 นับถือ
ศาสนาพุทธ
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR)
                อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์  (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
 * ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono)
(ตุลาคม 2547)


 เพลงประจำชาติของอินโดนีเซีย



********************************************************************************

ประเทศมาเลเซีย


ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร  ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน  โดยมีทะเลจีนใต้กั้น
- ส่วนแรก คือ มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู  มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์  ประกอบด้วย 11 รัฐ  คือ  ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์  เประ กลันตัน ตรังกานู ปะนัง   เกดะหะ และปะลิส
- ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน)  มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล์อมรอบประเทศบรูไน  ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก
- นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต  คือ  กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง)       เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่ 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ประชากร : 26.24 ล้านคน (ปี 2549)  ประกอบด้วย  ชาวมาเลยเซียกว่า 40%  ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน
     อีก 10% เป็นชาวอินเดีย  อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว  อีก 5% เป็นชาวไทย
และอื่นๆอีก 2%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : มาเลยเซีย (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4)  พุทธ (ร้อยละ 19.2)  คริสต์ (ร้อยละ 11.6)  ฮินดู (ร้อยละ 6.3)
      อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 9.25 บาท/ 1 ริงกิต  (ขาย) 10 บาท/1 ริงกิต (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)
   * ประมุข คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต้าน ไมซาน ไซนัล อะบีดิน (พระนามเต็ม: อัล วาติกูรบิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีน อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต้าน มาหะมัด อัล มัคตาฟ์ บิลลาห์ ชาหะ ภาษาอังกฤษ : DYMM Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah)  จากรัฐตรังกานู  ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย  (ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)
* นายกรัฐมนตรี คือ นาจิบ ราซัค
เพลงประจำชาติประเทศมาเลเซีย



****************************************************************************


นางสาวสิริโสภา    นาคศรี  ม.5/7   เลขที่ 42

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สานฝัน...สู่ประชาคมอาเซียน!!! :)

        

 

ประเทศเวียดนาม  

โฮจิมินห์ซิตี


 

 

 

-          เวียดนามมีชื่ออย่างเป็นทางการคือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม              

-           เมืองหลวง : ฮานอย

เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีนมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก


 จำนวนประชากร เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก


- เทศกาล

   เทศกาลเต็ด เป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด มีชื่อเต็มว่า "เต็ดเหวียนดาน" หมายความว่า เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี มีขึ้นระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื่อ และศาสนาพุทธ และเป็นการเคารพบรรพบุรุษ

   เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน (บันตรังทู) พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงจันทร์



-การคมนาคม

    เวียดนามมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานโหน่ยบ่าย (Noi Bai) ในกรุงฮานอย, ท่าอากาศยานเตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat) ในนครโฮจิมินห์, โครงการท่าอากาศยานลองถั่ญ (Long Thanh) ในจังหวัดด่งนาย, ท่าอากาศยานจูลาย (Chu Lai) ในจังหวัดกว๋างนาม และท่าอากาศยานดานัง (Danang) ในนครดานัง



-ศาสนา
เวียดนามไม่มีศาสนาประจำชาติ โดยรัฐธรรมนูญให้อิสระในการเลือกนับถือศาสนา โดยปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก 3 เปอร์เซ็นต์

-ภาษา ภาษาทางการคือ ภาษาเวียตนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน 

-สกุลเงิน และการใช้เงิน(บัตรเครดิต) สกุลเงินของเวียตนามคือ ดอง อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 420-460 ดอง ต่อ 1 บาทและ 1 ดอลล่า เท่ากับ 15,900 ด่อง ควรมีเงินด่องติดตัวไว้บ้างเล็กน้อย เงินสกุลดอลล่าสามารถใช้ได้ทั่วประเทศ ส่วนเงินบาทสามารถใช้ได้ตามร้านค้าทั่วไปได้เลย
การนำบัตรเครดิตไม่เป็นที่นิยมใช้ในเวียดนาม หรือสามารถใช้ได้เฉพาะร้านค้าหรือโรงแรมที่ใหญ่ๆเท่านั้น
 
-ภูมิศาสตร์
เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000
ลักษณะภูมิประเทศ
· มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
· มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ft) ตั้งอยู่ใเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน
ลักษณะภูมิอากาศ
· เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
· เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีปริมาณฝนจาก 120 ถึง 300 เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส


เพลงประจำชาติเวียดนาม



**************************************************


ประเทศลาว
เวียงจันทร์  ประเทศลาว


ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล  มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก  ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้  และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย)
    แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์)
เมืองหลวง : นครเวียงจันทน์ (Vientiane) (เป็นเขตเมืองหลวงเหมือน กทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)

ประชากร : 5.6 ล้านคน (ปี 2548)  ประกอบด้วย ลาวลุ่มร้อยละ 68  ลาวเทิงร้อยละ 22  ลาวสูงร้อยละ 9
           รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา  ต่ำสุด 10 องศา  ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี  ความชื้น 70-80 %
ภาษา : ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 16-17 นับถือผี  ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณ 100,000 คน) และอิสลาม (ประมาณ 300 คน)
สกุลเงิน : กีบ (Kip)
         อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท : 276 กีบ (พฤษภาคม 2551)
ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์(ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน)  โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือ
พรรคประชาชนปฏิวัติลาว  มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
* ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) คือ พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน  (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
 * หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน  (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)

      เพลงประจำชาติลาว

****************************************************

นางสาวศิริภัทรจำปาศรี   จำปาศรี
ชั้น ม.5/7    เลขที่ 12

สานฝัน.......สู่ประชาคมอาเชียน

ประเทศไทย
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ประชากร : 64.7 ล้านคน (2551)
ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน
ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม  ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
* นายกรัฐมนตรี คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 ที่มา : www1.mod.go.th/admm/aseancountry_thai.pdf

เพลงประจำชาติไทย

***********************************************************


ประเทศฟิลิปปินส์
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ  ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก  ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 100 กม.  และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
- ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้
- ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
- อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร

พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)     
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)       
ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ.2550)
ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อนได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่นบริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียวเป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก  แต่ในปีพ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ  ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ  โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ศาสนา :  ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ พุทธและอื่นๆ ร้อยละ 3
สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP)
        อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 0.72 บาท/ 1 เปโซ  (ขาย) 0.75 บาท/ 1 เปโซ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 6 ปี)
  * ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเบนิโญ อาคิโน
ที่มา : www1.mod.go.th/admm/aseancountry_thai.pdf

เพลงประจำชาติฟิลิปปินส์

***********************************************************
ประเทศพม่า
ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ  ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์
- ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน
- ทางตะวันออกติดกับลาว
- ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย
- ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
- ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล 
พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย) 
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็นเนปีตอ (Nay Pyi Taw)   (มีความหมายว่า มหาราชธานี)  เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548  ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบเมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะ    ไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง  เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร  ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ  เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่างๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย  เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
ประชากร :  ประมาณ 56 ล้านคน  (พ.ศ.2548)  มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลักๆ  8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68)  ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8)  กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7)  ยะไข่ (ร้อยละ 4)  จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2)  อินเดีย (ร้อยละ 2)
ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน  ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก  ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน  ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90  ศาสนาคริสต์ ร้อยละ ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8  ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05
สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร  ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)
* ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ
พลเอกอาวุโส ตานฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)
* นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง (Gen. Thein Sein) นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550)เพลงชาติประเทศพม่า
ที่มา : www1.mod.go.th/admm/aseancountry_thai.pdf

เพลงประจำชาติพม่า


***********************************************************

นางสาวปิยธิดา   โตสงค์   ม.5/7  เลขที่ 19